รากฟันเทียม (Dental Implant)

รากฟันเทียม (Dental Implant)

%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a11

 

%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a12

รากฟันเทียม คือการผ่าตัดฝังวัสดุ ที่มีรูปร่างคล้ายกับรากฟัน ลงไปบนกระดูกขากรรไกรใต้เหงือก เพื่อให้เป็นที่ยึดเกาะของฟันปลอมที่ทันตแพทย์ทำขึ้นมาใหม่ เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป

รากเทียมนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกร มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับฟันซี่ปลอมซี่ใหม่ที่จะใส่เข้าไปในช่องปาก วิธีการฝังรากเทียมนี้ จะดีกว่าการใส่ฟันปลอม หรือทำสะพานฟัน เพราะจะไม่มีการเลื่อนหลุดออกจากที่ และยังให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญในการใช้งาน และไม่มีผลกระทบกับการพูด หรือการรับประทานอาหาร

รากฟันเทียมนี้ เหมาะสำหรับคนไข้บางราย ที่ไม่สามารถใช้ฟันปลอม หรือสะพานฟันได้ ทั้งจากความรำคาญ ระคายเคือง หรือเจ็บ นอกจากนั้นคนไข้บางอาชีพ ก็ไม่สามารถใส่ฟันปลอม หรือสะพานฟันได้ เพราะอาจเกิดผลกระทบโดยเฉพาะนักกีฬา การฝังรากฟันเทียมนี้ ยังไม่ต้องกรอฟันที่อยู่ด้านข้าง เพื่อทำเป็นที่สำหรับยึดเกาะให้ฟันปลอม เพราะจะการฝังวัสดุที่จะใช้ยึดเกาะลงไปในตำแหน่งที่เดิมที่สูญเสียฟันไปเลย

การฝังรากเทียม สามารถทำได้ทั้งกับคนไข้ที่สูญเสียฟันไปเพียงซี่ใดซี่หนึ่ง หรือหลาย ๆ ซี่ และคนไข้ไม่อยากจะต้องกังวลกับการถอดใส่ฟันปลอม แต่ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้ารับการฝังรากเทียมจะต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง กระดูกมีความพร้อม และเหมาะสมสำรับการฝังราก ก่อนการรักษาจะต้องใส่ใจดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นอย่างดี และมาพบทันตแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะกระบวนการฝังรากเทียมนี้ ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก

วัสุดที่ใช้ในการทำรากฟันเทียมนั้น ประกอบด้วย

  • รากเทียม เป็นวัสดุที่ทำมาจากโลหะไททาเนียม มีลักษณะคล้ายกับรากฟัน สามารถฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรได้ โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ
  • เดือยรองรับครอบฟัน จะช่วยให้รากฟัน กับครอบฟัน ยึดติดกันแน่นและจะช่วยรองรับแรงที่เกิดจากการบดเคี้ยว
  • ครอบฟัน อยู่ด้านบนสุด มีรูปร่างลักษณะเหมือนฟัน

เมื่อตัดสินใจจะรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์ จะรักษาตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • X-ray เพื่อตรวจเช็คสภาพโดยรวมของกระดูกขากรรไกร
  • ผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร และเย็บปิดแผล และรอให้แผลหายดี และให้รากเทียมที่ฝังยึดติดกับกระดูกขากรรไกร ซึ่งอาจะต้องใช้เวลา ประมาณ 2-4 เดือน
  • ใส่เดือยรองรับการครอบฟัน จากนั้นจะต้องต้องระเวลาใส่ครอบฟันอีกประมาณ 1- 4 สัปดาห์
  • ใส่ครอบฟัน ที่มีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับฟันตามธรรมชาติ โดยวัสดุที่ใช้ มักจะเป็นเซรามิค
  • หลังจากใส่ครอบฟันแล้ว จะต้องพบทันตแพทย์ เพื่อติดตามผลการรักษาอีกระยะหนึ่ง

การดูแลช่องปากหลังการฝังรากฟันเทียมนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างสมบูรณ์ไม่มีผลกระทบใด ๆ วิธีการดูแลเบื้องต้น มีดังนี้

  • ดูแลสุขภาพปาก และรักษาความสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยแปรงฟันตามปกติ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดบริเวณที่ขนแปรงอาจเข้าไม่ถึง โดยเฉพาะระหว่างซอกฟัน ที่อยู่ติดกับฟันที่ได้รับการฝังรากเทียม
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ มำให้โครงสร้างกระดูกไม่แข็งแรง อาจส่งผลกระทบต่อรากเทียมได้
  • ไปพบทันตแพทย์ต่อเนื่อง เพื่อการทำความสะอาด และตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน
  • หลีกเลี่ยงการกัด หรือการเคี้ยวของแข็ง เช่น เคี้ยวน้ำแข็ง กัดลูกอม เพราะอาจจะทำให้ฟันที่ครอบแตกหักได้

อย่างไรก็ตาม การฝังรากฟันเทียมนี้ เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะเทคโนโลยี และวัสดุที่นำมาใช้ มีราคาแพง และยังต้องใช้การผ่าตัดเข้าร่วมด้วย แต่วิธีการเป็นการรักษาที่ให้ผลดีในระยะยาว รากฟันที่ฝังลงไปอาจมีอายุการใช้งานนานเป็น 10 หรือ 20 ปี ซึ่งถือว่าแข็งแรง และคงทนกว่าการรักษาด้วยวิธีการอื่นหลายเท่า

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ย้อนกลับด้านบน