การเคลือบฟันเทียม (Dental veneers)

การเคลือบฟันเทียม (Dental veneers)

%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1

การเคลือบฟันเทียม หรือ Dental veneers บางครั้งก็เรียกว่า Porcelain veneers หรือ Dental porcelain laminates นั้น คือการนำวัสดุบาง ๆ มาเคลือบที่ด้านหน้าของฟัน เพื่อทำให้ฟันมีสีขาวสวย ส่องประกายเงางาม โดยวัสดุที่นำมาเคลือบนั้น เป็นวัสดุที่ทำขึ้นมาเฉพาะสำหรับคนไข้แต่ละราย การเคลือบฟันเทียมนี้ สามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องสี รูปร่าง ขนาด และความยาวของฟันไม่เหมาะสมได้

วัสดุที่นำมาใช้ในการเคลือบฟันเทียมนั้น มีทั้ง พอร์เซเลน และเรซิน แต่การเคลือบด้วยพอร์เซเลนนั้น จะเลอะคราบสกปรกได้ยากกว่าเรซิน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงเล็กน้อย ทำให้ดูเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่าเรซินด้วย แต่การเคลือบด้วยเรซินนั้น ก็มีส่วนที่ดีคือ ตัววัสดุจะบางกว่า ทำให้ไม่ต้องกรอผิวฟันออกมากนัก ก่อนที่จะเคลือบเรซินลงไป แต่ทั้งนี้ การจะเลือกใช้วัสดุแบบไหน ก็ต้องขอคำแนะนำจากทันตแพย์

การเคลือบฟันเทียมนั้น สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาความผิดปกติ หรือความไม่สวยงามของฟันได้หลายอย่างคือ

  • แก้ไขปัญหาในกรณีที่สีของฟันไม่สวยงาม ซึ่งปัญหานี้ อาจจะเกิดขึ้นเพราะการรักษารากฟัน ฟันมีสีเข้ม จากการใช้ยาเตทตร้าไซคลิน หรือยาอื่น ๆ การได้รับฟลูออไรท์มากเกินไป หรือแม้กระทั่งการแก้ไขสีของฟันที่เคยผ่านการเคลือบเรซินมาก่อนแล้ว
  • ฟันเสื่อมสภาพมีสีเข้มขึ้นเพราะอายุที่เพิ่มขึ้น
  • ฟันแตก หรือฟันหัก
  • ฟันจัดเรียงตัวไม่สวยงาม ฟันไม่เรียบ หรือผิดรูปผิดร่าง เล็กเกินไป ใหญ่เกินไป ยาวเกินไป หรือสั้นเกินไป
  • ฟันห่าง

เมื่อปรึกษาทันตแพทย์ และได้รับคำแนะนำว่า สามารถเคลือบฟันเทียมได้ ทันตแพทย์ ก็จะดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งโดยทั่วไป คนไข้จะต้องมาพบทันตแพทย์ประมาณ 3 ครั้ง เริ่มจากการรับคำปรึษา ตามมาด้วยการเตรียมการเคลือบ และการเคลือบฟันเทียม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเคลือบเพียงแค่ซี่เดียว หรือหลายซี่ ก็จะมีกระบวนการหลัก ๆ ดังนี้

  • ทันแพทย์จะตรวจวินิจฉัย และเตรียมการสำหรับการเคลือบ ในขั้นนี้ คนไข้จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการ และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการเคลือบฟันเทียมนี้ จากนั้น ทันตแพทย์ก็จะตรวจเช็คสภาพฟัน ว่ามีความเหมาะสมเพียงพอที่จะเคลือบฟันเทียมได้หรือไม่ อธิบายขั้นตอนในการทำจะเป็นอย่างไร ตลอดจนบอกถึงข้อจำกัดของการเคลือบฟันเทียม นอกจากนี้ อาจจะต้องมีการ X-ray ในขั้นตอนนี้ด้วย
  • การเตรียมการ จะเป็นการเตรียมฟันเพื่อการเคลือบ ในขั้นนี้ ทันตแพทย์จะต้องกรอผิวฟันออกประมาณ ½ มิลลิเมตร เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการติดวัสดุเคลือบฟัน สำหรับคนไข้บางราย ทันตแพทย์อาจจะต้องใช้ยาชาเข้าช่วยในขั้นตอนนี้ด้วย เมื่อกรอฟันเสร็จ จะมีการพิมพ์ฟัน และส่งแบบพิมพ์นั้นไปที่ห้องแลป เพื่อจัดทำวัสดุเคลือบที่เป็นของคนไข้รายนั้นโดยเฉพาะ ในขั้นนี้ จะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ และในระหว่างการรอ คนไข้อาจจะขอให้ทันตแพทย์ติดเคลือบฟันชั่วคราวให้ก่อน แต่ทั้งนี้ ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • เตรียมวัสดุเคลือบฟัน ก่อนที่จะติดวัสดุเคลือบฟันถาวรลงไปบนฟันของคนไข้ ทันตแพทย์อาจจะลองติดแบบชั่วคราวให้ก่อน เพื่อดูความพอเหมาะพอดี และตรวจเช็คสี หากไม่มีปัญหาใด ๆ จึงจะติดถาวร
  • เมื่อติดเคลือบฟันลงไปแล้ว ก็เป็นขั้นของการทำความสะอาด ขัดเงา และตรวจเช็คการใช้งาน และการกัด จากนั้น ทันตแพทย์อาจจะนัดหมายเพื่อติดตามผลการรักษาอีกครั้ง ใน 1-2 สัปดาห์ เพื่อดูสภาพเคลือบฟัน และสภาพเหงือก ว่ามีปัญหาใดหรือไม่

หลังเคลือบฟันเทียมไปแล้ว มักจะพบว่าคนไข้ ได้รับประโยชน์ และความพึงพอใจ เพราะฟันที่ได้ดูสวยงามเป็นธรรมชาติ วัสดุที่ใช้คือพอร์เซเลนนั้น ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อเหงือก และยังไม่เลอะคราบสกปรก วัสดุที่นำมาใช้ในการปกปิด ก็สามารถแก้ไขปัญหาฟันดำ ฟันเหลืองได้ โดยเห็นผลอย่างชัดเจน ส่วนการแก้ไขรูปร่างของฟันนั้น ก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องครอบฟัน จึงนับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอีกแนวทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การเคลือบฟันเทียมนั้น ก็มีข้อด้วย เช่นกันคือ

  • เป็นวิธีการที่เมื่อตัดสินใจ และดำเนินการไปแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนใจขอเลิกทำได้ เพราะต้องกรอฟัน ทำให้สูญเสียผิวฟันไปแล้ว
  • เป็นวิธีการที่มีราคาแพง
  • หากเคลือบไปแล้ว เกิดความเสียหาย เช่นมีการแตก การบิ่น ไม่สามารถแก้ไขได้
  • เนื่องจากต้องกรอผิวฟันออก อาจส่งผลให้ฟันไวต่อความรู้สึก เมื่อดื่มเครื่องดื่ม หรือรับประทานอาหารที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด
  • สีของเคลือบฟัน อาจจะไม่เหมือนสีธรรมชาติของฟัน 100 เปอร์เซนต์ และเมื่อใช้ไปนาน ๆ สีของวัสดุที่เคลือบก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ การฟอกฟันขาว ไม่สามารถใช้ได้กับการเคลือบฟัน ดังนั้น ถ้าคิดจะฟอกสีฟัน ควรฟอกก่อนที่จะเข้ารับการทำเคลือบฟันเทียม
  • วัสดุที่ใช้ติดเข้าไปกับผิวฟัน อาจจะมีการเสื่อม หรือหลุดออกได้ ดังนั้นเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหายดังกล่าว ควรหลีกเลี่ยงการกัดของแข็ง เช่นการกัดเล็บ การเคียวก้นดินสอ น้ำแข็ง หรือของแข็งอื่น ๆ
  • ฟันที่ผ่านการเคลือบ ก็ยังผุได้ และหากเกิดปัญหานี้ขึ้นมา ก็ต้องแก้ไขด้วยการครอบฟัน
  • การเคลือบฟันเทียม นั้น ยังเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพฟันไม่แข็งแรง เช่น มีปัญหาฟันผุ หรือเป็นโรคเหงือก รวมถึงฟันที่เคยผุกินพื้นที่กว้าง ผ่านการอุดพื้นที่ใหญ่มาก่อน ฟันไม่แข็งแรง รวมทั้งผู้ที่มีผิวฟันน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ ผู้ที่มีนิสัยชอบกัดฟัน เคี้ยวฟัน ก็ไม่เหมาะที่จะทำเคลือบฟันเทียมเช่นกัน เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เคลือบฟันแตกหรือบิ่นได้

อายุการใช้งานของเคลือบฟันเทียม จะอยู่ที่ 5-10 ปี และเมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้ว คนไข้จะต้องกลับมาเคลือบใหม่ การดูแลเคลือบฟันเทียมนั้น ก็ไม่ต้องมีวิธิพิเศษแต่อย่างใด เพียงแค่รักษาความสะอาด แปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน บ้วนปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตามปกติ และพบทันตแพทย์ตามการนัดหมาย แต่ทั้งนี้ การดูแล เพื่อไม่ให้พอร์เซลีน เลอะคราบสกปรกจากอาหาร ทันตแพทย์ จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดคราบ เช่น ชา กาแฟ และไวน์แดง

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ย้อนกลับด้านบน