จัดฟันใช้เวลานานเท่าไหร่

         %e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%ab

         

             เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะจัดฟัน คำถามที่คนไข้ทุกคนจะต้องถามทันตแพทย์ก็คือ ต้องใส่เครื่องมือจัดฟันไว้เป็นเวลานานแค่ไหน คำตอบนี้จะแตกต่างกันไปสำหรับคนไข้แต่ละคน และสภาพฟัน ช่องปากและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ในการจัดฟันของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันมีหลายปัจจัยที่ทำให้คนไข้แต่ละคนใช้เวลาในการจัดฟันแตกต่างกัน เช่น อายุของคนไข้ ลักษณะความผิดปกติของฟัน ที่้มีทั้งการเรียงตัวไม่ปกติเพียงเล็กน้อย และความผิดปกติของขากรรไกร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ตลอดจนเครื่องมือที่คนไข้เลือกใช้ในการจัดฟันด้วย ทันตแพทย์จะต้องประเมินสถานการณ์โดยรวมทั้งหมดของคนไข้แต่ละคนก่อน จึงจะสามารถบอกได้ว่า คนไข้รายนั้น ๆ จะต้องใช้เวลาในการใส่เครื่องมือจัดฟันนานแค่ไหน

            เมื่อคนไข้มาพบทันตแพทย์เฉพาะทางในสาขาจัดฟันเพื่อรับคำปรึกษา ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพในช่องปากอย่างละเอียด เอ็กซเรย์ ทำแบบจำลองฟัน ถ่ายภาพ ซักประวัติ และนำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินว่าคนไข้ต้องการรับการรักษาในลักษณะใด
แต่โดยเฉลี่ยแล้ว การจัดฟันนั้นจะใช้เวลาประมาณ 16-18 เดือน ในคนไข้บางรายอาจจะต้องใช้เวลานานถึง 24 เดือน หรือมากกว่านั้น และคนไข้บางรายก็อาจจะใช้เวลาในการจัดฟันเพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น

            สำหรับคนไข้จัดฟันในวัยผู้ใหญ่ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการจัดฟัน จะมากกว่าในคนไข้เด็ก เพราะฟันของผู้ใหญ่จะหยุดการเจริญเติบโตแล้ว และยึดติดแน่นในตำแหน่งนั้น การจัดฟันจึงต้องอาศัยแรงดึงที่มากกว่า จึงจะเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนไข้จัดฟันในวัยผู้ใหญ่ อาจจะต้องใส่อุปกรณ์จัดฟันเป็นเวลานาน 18 เดือน หรืออาจจะนานถึง 3 ปี
อย่างไรก็ตามในคนไข้เด็กบางรายก็อาจจะใช้เวลาในการจัดฟันนานกว่าปกติ และอาจจะนานกว่าคนไข้ผู้ใหญ่ก็ได้ เพราะมีความผิดปกติในการจัดเรียงตัวของฟันมาก เช่น มีฟันขึ้นผิดตำแหน่งจนต้องถอนฟันออก และรอให้ฟันแท้ขึ้นมาก่อน หรือมีความผิดปกติของขากรรไกร เป็นต้น

            แม้ว่าทันตแพทย์จะประเมินระยะเวลาคร่าว ๆ ในการใส่อุปกรณ์จัดฟันให้แล้ว แต่ในบางกรณี ระยะเวลาในการใส่ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าหากอยากจะนำเหล็กจัดฟันออกให้ได้ตามกำหนด หรือสั้นกว่าที่มีการประเมินไว้ คนไข้ควรจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดและรักษาสุขภาพอนามัยในช่องปากได้เป็นอย่างดี ดังนี้
            – มาพบทันตแพทย์ตรงตามการนัดหมายทุกครั้ง เพื่อที่จะได้ปรับเครื่องมือ สำหรับอุปกรณ์แบบยิดติด และเปลี่ยนชุดอุปกรณ์สำหรับอุปกรณ์จัดฟันแบบถอดได้
            – กรณีที่ใส่อุปกรณ์จัดฟันแบบถอดได้ ต้องใส่อุปกรณ์ไว่ในช่องปากให้ได้ตามกำหนดเวลาที่ทันตแพทย์ได้กำหนดไว้ให้อย่างเคร่งครัดในทุก ๆ วัน
            – คนไข้จัดฟันควรเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอาจจะสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์จัดฟัน คืออาหารแข็ง อาหารเหนียว อาหารที่ต้องเคี้ยวมาก ๆ เช่น ป๊อบคอร์น มันฝรั่งอบกรอบ ลูกอมขนมหวาน เพราะอาหารเหล่านี้ อาจจะทำให้อุปกรณ์จัดฟันที่ใส่ไว้แตก บิ่น หลุด เสียหาย จนต้องมาเสียเวลาซ่อมแซม หรือติดอุปกรณ์ใหม่
            – รักษาอนามัยในช่องปากให้ดี แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ ซึ่งหากเป็นขึ้นมาในระหว่างการจัดฟันนั้น จะเสียเวลา ทำให้การจัดฟันต้องยืดระยะเวลาออกไปอีก

ย้อนกลับด้านบน