อาการปวดฟัน เป็นปัญหาใหญ่ เพราะเมื่อปวดขึ้นมาจะรู้สึกทรมาน แทบไม่อันทำอะไรเลย สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันนั้นมีด้วยกันหลายประการ แต่มีอาการปวดฟันอย่างหนึ่งที่แปลกว่าสาเหตุอื่นก็คือ อาการปวดฟันเวลากินน้ำเย็น บทความนี้จะได้กล่าวถึงเรื่องนี้ อาการปวดฟันเวลากินน้ำเย็นเป็นอย่างไร อาการปวดฟันเวลากินน้ำเย็นเป็นอาการต่อเนื่องกับสภาวะเสียวฟันเวลากินน้ำเย็น ถ้าเทียบแล้วอาการปวดฟันจะเป็นขั้นกว่า คือมีอาการมากกว่า อาจบอกได้ว่า รู้สึกปวดตุบๆ เมื่อพูดถึงอาการปวดฟันจึงต้องกล่าวต่อจากอาการเสียวฟัน สาเหตุที่ทำให้มีอาการเสียวฟัน อาการเสียวฟันเกิดจากปัญหาสุขภาพฟันและช่องปาก ในส่วนของฟันนั้นเป็นเพราะเคลือบฟันถูกทำลาย สึกกร่อน ทำให้ประสาทฟันที่อยู่ตรงเนื้อฟันไม่มีอะไรปกป้อง เวลาโดนอะไรเข้าจึงรู้สึกว่าเสียวฟัน ไม่ว่าจะเป็นความร้อน ความเย็น หรือแม้แต่บางครั้งแค่ลมพัดถูกฟันก็รู้สึกเสียวฟันแล้ว ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟันนั้น มีหลายสาเหตุ เช่น เหงือกร่น สาเหตุใหญ่มาจากการที่ใช้แปรงที่มีขนแข็งและแปรงผิดวิธีแบบถูไปมาทางขวาง ไม่ได้ปัดขึ้นลงตามฟันแต่ละซี่ ฟันผุ แน่นอนว่า เมื่อเคลือบฟันถูกทำลายไป จะเหลือแต่เนื้อฟันที่ไม่มีเกราะป้องกัน ต้องเผชิญทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเอง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียวฟัน ปัญหาโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งอาการนี้จะส่งผลให้เป็นอย่างอื่นอีก เช่น เหงือกร่น ไม่ปกคลุมคอฟัน มีโอกาสเสียวฟันเวลากินน้ำเย็น เจออากาศเย็น หรือลมเย็นๆ ซึ่งอาจยังไม่ถึงขั้นปวดฟัน การบิ่นหักของฟันเรื่องนี้นี่เองที่อาจเป็นที่มาของการปวดฟันเวลากินน้ำเย็น ถ้าฟันที่บิ่นหรือหักไม่มากนัก ก็อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟัน เพราะความเย็นไปถูกเนื้อฟันโดยตรง แต่ถ้ามีการอักเสบและลามไปถึงโพรงประสาทฟัน กรณีนี้ อาจมีการอักเสบมากๆ และทำให้ปวดฟันได้ การกินอาหารที่มีความเป็นกรดสูงเป็นประจำ ทำให้ฟันผุกร่อน […]
Category Archives: บทความเกี่ยวกับทันตกรรม
เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะจัดฟัน คำถามที่คนไข้ทุกคนจะต้องถามทันตแพทย์ก็คือ ต้องใส่เครื่องมือจัดฟันไว้เป็นเวลานานแค่ไหน คำตอบนี้จะแตกต่างกันไปสำหรับคนไข้แต่ละคน และสภาพฟัน ช่องปากและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ในการจัดฟันของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันมีหลายปัจจัยที่ทำให้คนไข้แต่ละคนใช้เวลาในการจัดฟันแตกต่างกัน เช่น อายุของคนไข้ ลักษณะความผิดปกติของฟัน ที่้มีทั้งการเรียงตัวไม่ปกติเพียงเล็กน้อย และความผิดปกติของขากรรไกร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ตลอดจนเครื่องมือที่คนไข้เลือกใช้ในการจัดฟันด้วย ทันตแพทย์จะต้องประเมินสถานการณ์โดยรวมทั้งหมดของคนไข้แต่ละคนก่อน จึงจะสามารถบอกได้ว่า คนไข้รายนั้น ๆ จะต้องใช้เวลาในการใส่เครื่องมือจัดฟันนานแค่ไหน เมื่อคนไข้มาพบทันตแพทย์เฉพาะทางในสาขาจัดฟันเพื่อรับคำปรึกษา ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพในช่องปากอย่างละเอียด เอ็กซเรย์ ทำแบบจำลองฟัน ถ่ายภาพ ซักประวัติ และนำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินว่าคนไข้ต้องการรับการรักษาในลักษณะใด แต่โดยเฉลี่ยแล้ว การจัดฟันนั้นจะใช้เวลาประมาณ 16-18 เดือน ในคนไข้บางรายอาจจะต้องใช้เวลานานถึง 24 เดือน หรือมากกว่านั้น และคนไข้บางรายก็อาจจะใช้เวลาในการจัดฟันเพียงแค่ […]
หลังจากติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว จะทำให้มีเศษอาหารติดได้ง่ายกว่าปกติทั้งบริเวณซอกฟันและเครื่องมือจัดฟัน ส่วนการทำความสะอาดฟันก็จะทำได้ยากขึ้นด้วย อาจจะนำมาซึ่งฟันผุและเหงือกอักเสบ ดังนั้นแล้วหลังจากติดเครื่องมือจัดฟันไป ต้องใส่ใจทำความสะอาดช่องปากมากกว่าเดิม วิธีแปรงฟันขณะติดเครื่องจัดฟัน 1. เลือกแปรงชนิดที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ติดเครื่องมือจัดฟันโดยเฉพาะ 2. เลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ 3. วางแปรงบนเครื่องมือจัดฟัน ให้ขนแปรงเอียงเข้าหาเครื่องมือจัดฟัน ขยับเบาๆ พร้อมกับหมุนแบบเป็นลักษณะวนๆ แปรงอย่างๆช้าๆทั้งด้านบน และด้านล่างของเครื่องมือจัดฟัน 4. แปรงในแต่ละตำแหน่งอย่างช้าๆ เพื่อให้ฟันและเครื่องมือจัดฟันสะอาด แล้วจึงค่อยขยับไปทีละนิด ทำแบบนี้ไปจนครบทุกซี่ 5. เมื่อแปรงด้านนอกของฟันบนเสร็จ ก็ขยับลงมาแปรงฟันล่าง โดยเริ่มแปรง จากฟันกรามหลังสุดจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายก็ได้ เช่นเดียวกันกับฟันบน 6. เมื่อแปรงด้านนอกทั้งฟันบน และฟันล่างเสร็จแล้ว จึงค่อยแปรงด้านใน โดยวางแปรงทำมุมเอียง 45 องศากับขอบเหงือก โดยแปรงขยับเบาๆแล้วปัดออกจากขอบเหงือกไปทางปลายฟัน (โดยฟันบนให้ปัดลง ฟันล่างให้ปัดขึ้น) ให้ทำเช่นนี้ตำแหน่งละหลายๆครั้ง เพื่อให้ผิวฟันสะอาด 7. หลังจากแปรงด้านนอก และด้านในเสร็จแล้ว จึงค่อยแปรงด้านบดเคี้ยวของฟัน โดยการขยับแปรงไปมาในแนวหน้า-หลังอย่างช้าๆ ให้เริ่มแปรงจากด้านบน ฟันกรามหลังสุดจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายก็ได้ เมื่อเสร็จแล้วจึงแปรงด้านบดเคี้ยวของฟันล่างต่อไป ในลักษณะเดียวกัน 8. […]
เครื่องมือ…หลุด เครื่องมือจัดฟันหลุดต้องมาพบทันตแพทย์เลยหรือไม่?? ปัญหาเครื่องมือจัดฟันหลุด สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ กรณีและเหล็กที่หลุดยังสามารถทิ่มกระพุ้งแก้มให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ แต่ในบางรายก็หลุดจนทำให้เครื่องมือหลวมเท่านั้น ซึ่งสาเหตุของเครื่องมือจัดฟันหลุดเกิดขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัยดังต่อไปนี้ – พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง – เพิ่งติดเครื่องมือจัดฟันได้ไม่นาน โดยเฉพาะผู้ที่มีฟันซ้อน ฟันเก ที่เรียงตัวกันอย่างแน่นๆ เมื่อใส่เหล็กจัดฟันลงในช่องปากก็จะทำให้มีการเคลื่อนตัวของฟันและอาจจะทำให้เครื่องมือจัดฟันหลวมจนสามารถหลุดได้ – พฤติกรรมการแปรงฟัน เพราะหากแปรงแรงเกินไปอาจจะทำให้เครื่องมือจัดฟันหลุดได้ – เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด การกระแทกแรงๆ บริเวณช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ การหกล้ม การโดนต่อย ก็สามารถทำให้เหล็กจัดฟันหลุดได้เช่นกัน เมื่อเกิดปัญหาเครื่องมือจัดฟันหลุด ควรปฏิบัติตัวดังนี้ 1. ให้รีบไปพบทันตแพทย์ แม้ว่าจะยังไม่ถึงเวลานัด เพราะหากเครื่องมือจัดฟันหลุดบ่อย ๆ อาจส่งผลทำให้การจัดฟันไม่คืบหน้า 2. ในกรณีที่เหล็กจัดฟันทิ่มออกมาโดนกระพุ้งแก้ม ให้ใช้ขี้ผึ้งที่ทันตแพทย์ให้ ปั้นเป็นก้อนขนาดเล็กแล้วแปะทับไปที่ปลายเหล็ก เพื่อให้เหล็กที่หลุดออกมาทิ่มกระพุ้งแก้มให้น้อยที่สุด แล้วให้รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตัดออก 3. ในกรณีที่เครื่องมือจัดฟันหลุดแล้วเผลอกลืนลงหลอดอาหารไปนั้น ไม่มีอันตรายใดและไม่ต้องกังวล เพราะอุปกรณ์จัดฟันที่ได้มาตรฐานจะไม่เป็นพิษต่อร่างกาย เมื่อเผลอกลืนลงไปร่างกายจะกำจัดด้วยการขับถ่ายตามปกติ 4. ในกรณีที่ลวดจัดฟันหลุดออกจากร่อง หากไม่ปรับให้ถูกต้องหรือทิ้งไว้นานจะส่งผลต่อระยะเวลาในการจัดฟันของคนไข้อย่างแน่นอน ดังนั้นควรรีบไปพบทันตแพทย์แม้ว่าจะยังไม่ถึงเวลานัดหมาย 5. ในกรณีที่เครื่องมือจัดฟันของคนไข้หลุด หากสามารถเก็บเครื่องมือไว้ได้ ควรนำไปให้ทันตแพทย์ด้วย เพื่อตรวจเช็คและติดเครื่องมือกลับไปให้ใหม่
ฟันร้าว เป็นลักษณะที่ฟันเกิดรอยแยก จะทำให้มีอาการปวดฟันที่ไม่สามารถบอกได้ชัดว่าเป็นซี่ใด มักจะปวดหรือเสียวเมื่อถูกความร้อน ความเย็น หรือเมื่อใช้เคี้ยว อาการปวดมักจะเป็นการปวดแปล๊บๆ พบในผู้สูงอายุ ฟันซี่ที่มักจะเกิดการร้าวได้บ่อยที่สุดคือ ฟันกรามล่าง รองลงมาคือ ฟันกรามน้อยบน และฟันกรามบน ตามลำดับ แนวร้าวที่เกิดพบได้ทั้งแนวขวางและแนวยาว หรืออาจเกิดได้ทั้งในแนวดิ่งและแนวนอน โดยอาการในระยะแรกนั้น อาจจะรู้สึกเสียวฟันเพียงเล็กน้อย ในระยะนี้การตรวจและถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์มักจะไม่พบความผิดปกติใดๆ ระยะต่อมาจึงจะเริ่มรู้สึกปวดฟัน และจะปวดมากขึ้นถ้ารอยร้าวขยายออกไป จนฟันซี่นั้นแตกอย่างสมบูรณ์ เราสามารถป้องกันฟันร้าวได้ดังนี้ – รักษาสุขภาพฟันให้แข็งแรง ด้วยการดูแลความสะอาดในช่องปาก ไม่ไห้มีโรคฟันผุ โรคเหงือก เพราะฟันที่แข็งแรงมีโอกาสร้าว จากการเคี้ยวอาหารน้อยลง – ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คและดูแลฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน – หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็ง – หากเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก ควรใส่เมาท์การ์ดหรือฟันยางสำหรับนักกีฬา – หากมีอาการนอนกัดฟัน ก็ต้องใช้ Night guard ใส่ในเวลานอน แต่ถ้าหากมีฟันร้าวแล้วและมีอาการปวดหรือบวม ให้รับประทานยาแก้ปวดตามอาการ แล้วรีบนัดหมายเพื่อมาพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด
มีความจำเป็นแค่ไหน ที่ต้องถอนฟันก่อนการจัดฟัน การจัดฟัน เป็นหนึ่งในวิธีการทางทันตกรรม โดยการใช้แรงเพื่อให้ฟันเกิดการเคลื่อนย้ายไปในทิศทางที่ต้องการและค่อย ๆ ขยับเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ และยังช่วยในเรื่องการสบกันของฟันบนกับฟันล่าง การจัดฟันอกจากจะเป็นประโยชน์ใช้งานและการดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันแล้ว การจัดฟันยังช่วยเพิ่มความสวยงามของฟัน ทำให้พูดหรือยิ้มได้อย่างมั่นใจ ซึ่งในกรณีที่มีฟันห่างนั้น อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องถอนฟัน เพราะมีเนื้อที่เพียงพอให้ฟันเลื่อนเข้ามาในช่องว่าง การถอนฟันไปอาจจะทำให้ฟันหลุบเข้าไปด้านในมากเกินไปก็เป็นไปได้ ส่วนในกรณีทีฟันซ้อนเก หรือมีฟันหน้ายื่นมาก อาจจำเป็นต้องถอนฟัน เพื่อจะได้มีพื้นที่ให้ฟันที่เหลือมีการขยับเรียงตัวที่สวยงามมากขึ้น **แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ทางจัดฟัน
Tea time ชานั้นมีสารแทนนิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีรสฝาด พบมากในกาแฟ ชา และไวน์ ทำให้เกิดคราบเหลืองติดแน่นบนผิวฟัน การดื่มชาบ่อยๆ จะมีโอกาสให้เกิดคราบสีเหลืองเกาะติดที่แผ่นคราบน้ำลายหรือแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เคลือบอยู่บนผิวฟัน ส่งผลให้ฟันมีสีเหลืองเข้มขึ้น เมื่อไม่ได้กำจัดออกแผ่นคราบเหล่านี้ ก็จะกลายมาเป็นหินปูนสะสมบนตัวฟันได้ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ โดย 1.ควรแปรงฟันหลังการดื่มชา 2.ควรใช้ไหมขัดฟันร่วมกับการแปรงฟันด้วยทุกครั้ง 3.พบทันตแพทย์ เพื่อขูดหินปูนและขัดฟัน ทุก 6-12 เดือน
การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน ให้ทั่วทุกซี่ทุกด้านนาน 2 นาที ไม่รับประทานอาหารหลังแปรงฟันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลายคนคิดว่าเพียงพอแล้วสำหรับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปาก แต่การแปรงฟันเพียงอย่างเดียวไม่สามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารที่อยู่บริเวณที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึงได้ จึงต้องใช้ ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดฟันเพิ่ม อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หลังแปรงฟัน เพื่อลดการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของฟันผุ และเหงือกอักเสบโดยเฉพาะบริเวณซอกฟันและด้านข้างของฟันที่อยู่ชิดกัน ข้อควรระวัง คือ ค่อยๆ เลื่อนไหมขัดฟันไปมาเบาๆ เพื่อแทรกเข้าซอกฟัน ไม่ใช้วิธีกดไหมขัดฟันให้ผ่านเข้าซอกฟันโดยตรง ไม่ใช้ไหมขัดฟันอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้เหงือกเลือดออกเป็นแผลได้ หรือหากไหมขัดฟันฉีกขาดเมื่อผ่านซอกฟัน อาจเกิดจากฟันผุด้านข้าง หรือมีหินน้ำลาย ซึ่งควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุต่อไป ไหมขัดฟัน….ต้องใช้ทุกวัน
วิธีการดูแลฟันและช่องปาก กรณีใส่ครอบฟัน ครอบฟัน คือ ฟันเทียมติดแน่นที่ใช้ครอบหรือคลุมฟันที่เสียหายทั้งซี่ เพื่อทำให้ฟันซี่นั้นแข็งแรงขึ้น การครอบฟันนั้น มักใช้เซรามิก ซึ่งสามารถที่จะปรับสีให้ใกล้เคียงกับสีฟันปกติได้ ส่วนวัสดุอื่นๆ เช่น ทองหรือโลหะผสม จะมีความแข็งแรงมากกว่า จึงแนะนำให้ใช้ในฟันกรามที่ใช้สำหรับการบดเคี้ยว แต่ยังสามารถคงความสวยงามได้โดยการใช้เซรามิกมาปิดบริเวณด้านแก้มหรือในบริเวณที่ยิ้มแล้วสามารถมองเห็นได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ตัวครอบฟันจะคลุมฟันทั้งซี่ แต่ก็ยังมีส่วนของฟันธรรมชาติบริเวณใต้ขอบเหงือก ที่ยังสามารถจะเกิดโรคฟันผุได้เหมือนเดิม ดังนั้นเราควรที่ดูแลทำความสะอาดฟันให้ดี เพื่อให้สามารถใช้ครอบฟันได้นานยิ่งขึ้น โดยมีวิธีการดูแลดังนี้ 1.แปรงฟันให้ถูกวิธีตามคำนำนำของทันตแพทย์และแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 2.ควรใช้ไหมขัดฟันร่วมกับการแปรงฟันทุกครั้ง หรืออย่างน้อยควรใช้หลังการแปรงฟันในตอนเย็น 3.ไม่ควรใช้ไหมขัดฟันโดยใช้แรงมากเกินไป อาจจะทำอันตรายต่อเหงือกได้ 4.ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 5.หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารเหนียวหรือแข็ง บริเวณที่ใส่ครอบฟัน 6.ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด 7.พบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน
เมื่อเราต้องใส่ฟันปลอม ทราบหรือไม่ว่า ฟันปลอมมีกี่แบบ?? 1.ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ เป็นการทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ใช้กับคนไข้ที่ยังมีฟันเหลืออยู่บางส่วน ซึ่งนอกจากฟันปลอมชนิดนี้จะใส่เพื่อเติมเต็มช่องว่างฟันที่หายไปแล้วก็ยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนตำแหน่งของฟัน โดยมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถถอดออกมาทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้ แต่ประสิทธิภาพการใช้งานแตกต่างจากฟันธรรมชาติพอสมควร ผู้ป่วยจำเป็นต้องฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อแก้มและลิ้นให้คุ้นเคยกับการใช้ฟันปลอมชนิดนี้ เพื่อฝึกการพูดออกเสียง และการบดเคี้ยวให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำฐานฟันปลอมชนิดนี้มี 3 แบบ – ฐานพลาสติกมีลักษณะคล้ายพลาสติกชนิดแข็ง ส่วนฐานมีความหนาอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร และปิดคลุมเนื้อเยื่อเหงือกหรือเพดานปาก มีโอกาสแตกหักได้ง่ายกว่าชนิดอื่นและมีข้อเสียจากรูพรุนของอะคริลิกที่ทำให้เกิดกลิ่นหรือคราบฝังลึกลงในผิวอะคริลิกได้ – ฐานโลหะ เป็นฐานฟันปลอมที่มีความแข็งแรงสามารถออกแบบให้ส่วนฐานปิดทับเนื้อเยื่อเหงือกหรือเพดานปากให้บางและน้อยที่สุดได้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการออกเสียงพูดไม่ชัดหรือการปิดพื้นที่สัมผัสอาหารในขณะรับประทาน แต่พื้นผิวบางส่วนที่รองรับฟันปลอมก็จำเป็นต้องใช้วัสดุชนิดอะคริลิกร่วมด้วย – ฐานพลาสติกยืดหยุ่น (Valplast) เป็นฐานฟันปลอมที่มีความยืดหยุ่น บิดงอได้ มีน้ำหนักเบาไม่แตกหักได้ง่ายเหมือนชนิดอื่นๆ 2.ฟันปลอมทั้งปาก ใช้สำหรับผู้ที่ไม่มีฟันบนหรือฟันล่างเหลืออยู่เลย ซึ่งฐานของฟันปลอมก็มีทั้งแบบพลาสติกกับฐานโลหะ เช่นเดียวกับฟันปลอมบางส่วนถอดได้ 3.ครอบฟัน เป็นฟันปลอมบางส่วนชนิดติดแน่น โดยใช้วัสดุมาครอบหรือคลุมฟันทั้งซี่ เพื่อทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น การครอบฟันนั้นมักใช้โลหะแล้วเคลือบภายนอกด้วยพอร์ซเลนหรือเซรามิก เป็นส่วนประกอบซึ่งสามารถปรับสีให้เข้ากับสีฟันตามธรรมชาติได้ 4.สะพานฟัน เป็นฟันปลอมบางส่วนติดแน่นที่มีส่วนของครอบฟันยึดติดกับฟันธรรมชาติทั้งสองข้าง และมีส่วนของฟันแขวนอยู่ตรงกลางใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไป 1-2 ซี่ ไม่ต้องมีตะขอ ไม่ต้องมีแผ่นเหงือกอะคริลิคให้เกะกะ เราไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เอง 5.รากฟันเทียม ผลิตจากวัสดุไทเทเนียม แล้วฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งที่สูญเสียฟันธรรมชาติไป […]