Yearly Archives: 2017

ประโยชน์ของการทำสะพานฟัน

ประโยชน์ของการทำสะพานฟัน   แน่นอนว่าการทำสะพานฟันต้องมีประโยชน์แน่ ๆ อาทิ ช่วยให้คุณมีรอยยิ้มสวยได้ดังเดิม ทำให้ความสามารถในการบดเคี้ยว และการออกเสียงดีเหมือนเดิม ช่วยคงรูปร่างของรูปหน้าเป็นไปตามปกติธรรมชาติ เป็นการช่วยกระจายแรงบดเคี้ยวให้เป็นปกติ ในขณะที่เราเคี้ยวอาหาร ช่วยหลีกเลี่ยงการรับแรงบดเคี้ยวที่มากเกินไปของฟันซี่ข้างเคียง ซึ่งถ้าเราไม่ทำสะพานฟัน เวลาเราเคี้ยวอาหาร ฟันซี่ข้างๆก็จะรับแรงบดเคี้ยวที่มากกว่าปกติ ส่งผลให้ฟันโยกได้ ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียงมายังช่องว่าง นอกจากนี้ยังช่วยรักษาตำแหน่งและการทำงานของฟันให้เป็นไปตามธรรมชาติ และช่วยในการรักษาการสบฟันให้เป็นปกติ ด้วย ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ ทำให้มีความมั่นใจในการยิ้ม หรือ พูดคุยในสังคม    

ทันตกรรมจัดฟัน (Orthodontics)

ทันตกรรมจัดฟัน (Orthodontics) ทันตกรรมจัดฟัน คือสาขาหนึ่งของทันตกรรม ที่ช่วยแก้ไขฟันและกระดูกขากรรไกร ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แก้ไขปัญหาฟันยื่น ฟันจัดเรียงตัวไม่สวยงาม ส่งผลให้ยากต่อการทำความสะอาด อันจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟันผุ และโรคเหงือก ปัญหาความตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการเคี้ยวที่ไม่เหมาะสม และนำไปสู่อาการปวดศีรษะ ต้นคอ ไหล่ หลัง ตลอดจนเรื่องไม่สวยงาม จนทำให้ขาดความมั่นใจ ดังนั้น การจัดฟัน จึงให้ประโยชน์ทั้งในด้านสุขอนามัยในช่องปาก การเสริมสร้างความมั่นใจ อีกทั้งการเป็นวิธีการรักษาเพียงแค่ครั้งเดียว ก็สามารถแก้ไขข้อบกพร่องหรือความผิดปกติให้คนไข้ได้ตลอดชีวิต ทันตแพทย์ที่จะจัดฟันให้คนไข้ได้นั้น ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการจัดฟันโดยเฉพาะ ต้องผ่านการศึกษาในด้านนี้มาอย่างน้อยเป็นเวลา 2 ปี และได้รับการรับรองว่า เป็นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาของการจัดฟัน เรามีความจำเป็นต้องจัดฟันหรือไม่นั้น ต้องถามทันตแพทย์จัดฟัน เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เท่านั้น จึงจะตอบได้ว่าคนไข้ จะได้รับประโยชน์จากการจัดฟันหรือไม่ ในการตรวจวินิจฉัย จะต้องใช้ทั้งเครื่องมือ การการซักประวัติ ทั้งเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพปากและฟัน รวมไปถึงการใช้ยา นอกจากนั้น ยังจะต้องดูผล X-ray เพื่อประกอบการตัดสินใจ และเลือกวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม   อย่างไรก็ตาม เราสามารถดูได้เองในเบื้องต้น ว่าหากมีอาการดังต่อไปนี้ ก็มีความเป็นไปได้มาก ที่ทันตแพทย์จะแนะนำให้จัดฟัน ฟันบนยื่น (Overbite) เป็นลักษณะที่ฟันบนยื่นเลยออกมาจากฟันล่าง […]

การครอบฟัน (Dental crown)

การครอบฟัน (Dental crown) การครอบฟัน คือการครอบวัสดุทางทันตกรรมลงไปบนฟัน เพื่อที่จะปกปิด และรักษาฟันซี่นั้น ให้มีรูปร่าง ขนาด และความแข็งแรง ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน และมีความสวยงามด้วย สาเหตุที่ทำให้ต้องครอบฟันมีหลายสาเหตุ ดังนี้ เพื่อปกป้องซี่ฟันที่ไม่แข็งแรง จากการที่ฟันผุมาก ฟันแตกหัก หรือเพื่อยึดฟันที่แตกออกเป็นส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อรักษา หรือซ่อมแซม ฟันที่หักไปแล้ว รวมทั้งฟันที่เคยผ่านการซ่อมมาแล้ว และเกิดความเสียหายขึ้นอีก เพื่อปกปิดและรองรับการใช้งานของฟันที่ผ่านการอุด ในบริเวณกว้าง ซึ่งการที่ฟันผุกินบริเวณกว้างนั้น ต้องกรอฟันออก ทำให้สูญเสียเนื้อฟันไปมากและอาจจะไม่แข็งแรงเหมือนเดิม เพื่อเป็นที่ยึดเกาะสำหรับการทำสะพานฟัน เพื่อปกปิดฟันที่มีลักษณะผิดรูปผิดร่าง หรือฟันที่มีสีไม่ปกติ เพื่อคลอบลงไปบนรากเทียม เพื่อความสวยงาม ไม่เพียงแค่ผู้ใหญ่เท่านั้น ที่อาจจะต้องพบกับสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้มีความจำเป็นต้องครอบฟัน แต่เด็ก ๆ ก็อาจมีเหตุที่ทำให้ต้องครอบฟันน้ำนมเช่นกัน คือ เพื่อซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากฟันผุ ในกรณีที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ด้วยการอุดฟัน เพื่อปกป้องฟันให้กับเด็กบางกลุ่ม ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะฟันผุ โดยเฉพาะเด็ก ที่ไม่สามารถดูแลความสะอาดประจำวันได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดหรือระงับความรู้สึก ให้กับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ เด็กที่ต้องรับประทานยา หรือรับการบำบัดรักษาโรคบางอย่าง ที่มีผลกระทบในเรื่องของฟัน รวมไปถึง เรื่องของอายุ และพฤติกรรมบางอย่าง […]

การตัดแต่งเหงือก (Gingivectomy และ Gingivoplasty )

การตัดแต่งเหงือก (Gingivectomy และ Gingivoplasty ) การตัดแต่งเหงือก Gingivectomy และ Gingivoplasty นั้นมีความแตกต่างกัน การตัดแต่งเหงือก Gingivectomy เป็นผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อและเหงือกออก ส่วน Gingivoplasty นั้นคือการผ่าตัด เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนรูปร่างของเหงือกที่อยู่รอบฟัน ซึ่งการผ่าตัดทั้งสองวิธีนั้น ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเหงือก ซึ่งก็คือทันตแพทย์ ผู้ชำนาญการในด้านการรักษาเหงือกและโครงสร้างที่อยู่รอบฟันโดยเฉพาะ การตัดแต่งเหงือกแบบ Gingivectomy เป็นวิธีที่ใช้ในการรักษาโรคเหงือก แต่ในปัจจุบันนำมาใช้ตัดแต่งเพื่อความสวยงามกันมากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ต้องตัดแต่งนั้น มีด้วยกัน 2 สาเหตุหลักคือ มีช่องระหว่างฟันและเหงือก ทำให้เศษอาหารเข้าไปติด ทำความสะอาดได้ยาก และกลายเป็นที่สะสมของเชื้อแบคทีเรีย มีเนื้อเหงือกมากเกินไป ซึ่งนอกจากจะทำให้ดูไม่สวยงามแล้ว ยังทำความสะอาดยากด้วย นอกจากนั้น การที่มีเนื้อเหงือกมากไปนี้ ยังส่งผลให้การรับประทานอาหารไม่สะดวก และบางรายอาจจะพูดไม่ชัด การตัดแต่งเหงือกแบบ Gingivoplasty เป็นวิธีการเปลี่ยนรูปร่างของเหงือก ซึ่งจะทำให้เหงือกดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น วิธีนี้ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหงือกไม่สมมาตร หรือไม่เท่ากัน การฟอร์มตัวของเหงือกไม่ดี โรคเหงือก ความผิดปกติจากพันธุกรรม มะเร็ง รวมทั้งเพื่อความสวยงามด้วย การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการรักษาด้วยการตัดแต่งเหงือก ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการรักษา ทันตแพทย์ […]

รากฟันเทียม (Dental Implant)

รากฟันเทียม (Dental Implant)   รากฟันเทียม คือการผ่าตัดฝังวัสดุ ที่มีรูปร่างคล้ายกับรากฟัน ลงไปบนกระดูกขากรรไกรใต้เหงือก เพื่อให้เป็นที่ยึดเกาะของฟันปลอมที่ทันตแพทย์ทำขึ้นมาใหม่ เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป รากเทียมนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกร มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับฟันซี่ปลอมซี่ใหม่ที่จะใส่เข้าไปในช่องปาก วิธีการฝังรากเทียมนี้ จะดีกว่าการใส่ฟันปลอม หรือทำสะพานฟัน เพราะจะไม่มีการเลื่อนหลุดออกจากที่ และยังให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญในการใช้งาน และไม่มีผลกระทบกับการพูด หรือการรับประทานอาหาร รากฟันเทียมนี้ เหมาะสำหรับคนไข้บางราย ที่ไม่สามารถใช้ฟันปลอม หรือสะพานฟันได้ ทั้งจากความรำคาญ ระคายเคือง หรือเจ็บ นอกจากนั้นคนไข้บางอาชีพ ก็ไม่สามารถใส่ฟันปลอม หรือสะพานฟันได้ เพราะอาจเกิดผลกระทบโดยเฉพาะนักกีฬา การฝังรากฟันเทียมนี้ ยังไม่ต้องกรอฟันที่อยู่ด้านข้าง เพื่อทำเป็นที่สำหรับยึดเกาะให้ฟันปลอม เพราะจะการฝังวัสดุที่จะใช้ยึดเกาะลงไปในตำแหน่งที่เดิมที่สูญเสียฟันไปเลย การฝังรากเทียม สามารถทำได้ทั้งกับคนไข้ที่สูญเสียฟันไปเพียงซี่ใดซี่หนึ่ง หรือหลาย ๆ ซี่ และคนไข้ไม่อยากจะต้องกังวลกับการถอดใส่ฟันปลอม แต่ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้ารับการฝังรากเทียมจะต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง กระดูกมีความพร้อม และเหมาะสมสำรับการฝังราก ก่อนการรักษาจะต้องใส่ใจดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นอย่างดี และมาพบทันตแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะกระบวนการฝังรากเทียมนี้ ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก วัสุดที่ใช้ในการทำรากฟันเทียมนั้น ประกอบด้วย รากเทียม เป็นวัสดุที่ทำมาจากโลหะไททาเนียม […]

สะพานฟัน (Dental Bridge)

สะพานฟัน (Dental Bridge) สะพานฟัน คือ ฟันปลอมชนิดติดแน่น ไม่สามารถถอดเข้าถอดออกได้ และประกอบไปด้วยครอบฟันมากกว่า 1 ซี่ ที่เชื่อมติดกันเหมือนสะพาน และครอบลงไปบนฟันธรรมชาติ แทนฟันที่สูญเสียไป สะพานฟันนี้ จะมีลักษณะเหมือนฟันธรรมชาติ ไม่ต้องมีตะขอเกี่ยว หรือแผ่นเหงือกเทียมรองรับ แต่จะต้องกรอฟันซี่ที่อยู่ด้านข้างของฟันที่สูญเสีย เพื่อใช้เป็นตัวยึดเกาะสำหรับฟันปลอมที่จะใส่เข้ามาแทนที่ สะพานฟันนั้น เป็นหนึ่งในทางเลือกของผู้ที่ต้องสูญเสียฟัน ซึ่งจะทำให้คนไข้ กลับมายิ้มอย่างมั่นใจได้เหมือนเดิม เมื่อใส่สะพานฟันเข้าไปแล้วจะสามารถใช้งานฟันได้เป็นปกติ ทั้งการเคี้ยวอาหาร และการพูด นอกจากนั้น ช่วยให้รูปทรงของใบหน้า กลับมาเหมือนเดิมก่อนที่จะมีการสูญเสียฟันไป และยังช่วยป้องกันฟันซี่อื่น ๆ ไม่ให้ล้ม เพราะการมีพื้นที่ว่างบนเหงือกอีกด้วย สะพานฟันที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มี 3 ประเภท คือ สะพานฟันแบบธรรมดา ( Traditional bridge) เป็นการครอบฟัน ซี่ที่อยู่ด้านข้างของฟันที่สูญเสียไป เพื่อเป็นที่ยึดเกาะฟันปลอมที่จะเข้ามาแทนที่ฟันที่สูญเสีย วิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด วัสดุที่นำมาครอบจะเป็นฟอร์เซเลนหลอมเข้ากับโลหะ หรือเซรามิค สะพานฟันแบบยึดด้านเดียว ( Cantilever bridge) เป็นการทำที่ยึดเกาะเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ของฟันซี่ที่สูญเสียไป แต่วิธีการนี้ […]

การเคลือบฟันเทียม (Dental veneers)

การเคลือบฟันเทียม (Dental veneers) การเคลือบฟันเทียม หรือ Dental veneers บางครั้งก็เรียกว่า Porcelain veneers หรือ Dental porcelain laminates นั้น คือการนำวัสดุบาง ๆ มาเคลือบที่ด้านหน้าของฟัน เพื่อทำให้ฟันมีสีขาวสวย ส่องประกายเงางาม โดยวัสดุที่นำมาเคลือบนั้น เป็นวัสดุที่ทำขึ้นมาเฉพาะสำหรับคนไข้แต่ละราย การเคลือบฟันเทียมนี้ สามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องสี รูปร่าง ขนาด และความยาวของฟันไม่เหมาะสมได้ วัสดุที่นำมาใช้ในการเคลือบฟันเทียมนั้น มีทั้ง พอร์เซเลน และเรซิน แต่การเคลือบด้วยพอร์เซเลนนั้น จะเลอะคราบสกปรกได้ยากกว่าเรซิน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงเล็กน้อย ทำให้ดูเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่าเรซินด้วย แต่การเคลือบด้วยเรซินนั้น ก็มีส่วนที่ดีคือ ตัววัสดุจะบางกว่า ทำให้ไม่ต้องกรอผิวฟันออกมากนัก ก่อนที่จะเคลือบเรซินลงไป แต่ทั้งนี้ การจะเลือกใช้วัสดุแบบไหน ก็ต้องขอคำแนะนำจากทันตแพย์ การเคลือบฟันเทียมนั้น สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาความผิดปกติ หรือความไม่สวยงามของฟันได้หลายอย่างคือ แก้ไขปัญหาในกรณีที่สีของฟันไม่สวยงาม ซึ่งปัญหานี้ อาจจะเกิดขึ้นเพราะการรักษารากฟัน ฟันมีสีเข้ม จากการใช้ยาเตทตร้าไซคลิน หรือยาอื่น ๆ การได้รับฟลูออไรท์มากเกินไป หรือแม้กระทั่งการแก้ไขสีของฟันที่เคยผ่านการเคลือบเรซินมาก่อนแล้ว […]

การอุดฟัน (Dental Fillings)

การอุดฟัน (Dental Fillings)   การอุดฟัน เป็นวิธีการรักษาฟันที่เสียหายเนื่องจากฟันผุ เพื่อให้ฟันซี่นั้น กลับมาใช้งานได้ตามปกติและมีรูปร่างที่เหมือนเดิม โดยทันตแพทย์ขจัดส่วนที่ฟันผุออกจนหมด ล้างทำความสะอาด และใช้วัสุดอุดฟันปิดช่องทางที่จะทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายฟัน และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ฟันกลับมาผุอีกในอนาคต สาเหตุที่ทำให้ฟันผุและการอุดฟันกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นนั้น ย้อนกลับไปตั้งแต่แรกเกิด ในตอนนั้น ไม่มีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอยู่ในช่องปาก แต่เมื่อเข้าสู่วัยเด็กหัดเดิน แบคทีเรียก็จะหาวิธีเข้าไปในปากของเรา ไม่ว่าจะเป็นการกัด หรือการเลียของเล่น รวมทั้งวิธีการอื่น ๆ และแบคทีเรียก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในปากของเราไปจนตลอดชีวิต แบคทีเรีย จะอยู่ที่ฟัน ทุกครั้งที่เรารับประทานอาหาร แบคทีเรียก็ได้รับอาหารด้วย ยิ่งถ้ารับประทานลูกอม ขนมหวาน แบคทีเรียก็ยิ่งชอบ และยิ่งแข็งแรงขึ้น และมันก็จะจับตัวกันแน่น เรียกว่า พลัก หากไม่กำจัดออก มันก็จะกัดกินเนื้อฟันของเรา จนกระทั่งเป็นรู ซึ่งเรียกว่า ฟันผุ แม้โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะสามรถซ่อมแซมตัวเองได้ อย่างเช่นเมื่อกระดูกหัก มันก็จะสามารถจะต่อกันติดเองได้ แต่สำหรับรูที่เกิดขึ้นบนฟันนั้น ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ จึงต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาด้วยการอุดฟัน คนไข้จะทราบได้อย่างไรว่าฟันผุ จนต้องอุดฟัน กรณีนี้ คนไข้อาจจะไม่มีความรู้สึกผิดปกติใด ๆ แต่การมาพบทันตแพทย์เป็นประจำตามกำหนดนั้นก็จะได้รับการตรวจเช็ค โดยใช้เครื่องมือซึ่งเป็นกระจกเล็ก ๆ […]

โรคเหงือก (Gum disease)

โรคเหงือก (Gum disease เรียกอีกอย่างว่า Periodontitis หรือ Periodontal disease) เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการก่อตัวของเชื้อแบคทีเรียในปาก ซึ่งหากปล่อยไว้ หรือรักษาไม่ถูกวิธี จะนำไปสู่การสูญเสียฟัน เพราะเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มฟันถูกทำลายไป เมื่อพูดถึงโรคเหงือก หลาย ๆ คนยังสับสน ระหว่าง โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) และปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบเรื้อรัง (Periodontitis หรือ Gum disease) ซึ่งโรคทั้งสอง มีความรุนแรงต่างกัน แต่เกี่ยวข้องกันคือ เหงือกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อ และทำให้เกิดการอักเสบขึ้น แต่การอักเสบนั้น ก็สามารถพัฒนาไปจนกลายเป็นการอักเสบเรือรัง หรือปริทันต์ได้ เรียกได้ว่า เหงือกอักเสบ เป็นอาการขั้นแรก ของโรคเหงือก หรือปริทันต์นั้นเอง อาการในขั้นแรก หรือเหงือกอักเสบนั้น เกิดจากการก่อตัวของแบคทีเรีย จนกลายเป็นคราบพลัก และทำให้เหงือกเกิดการติดเชื้อ มีเลือดออกระหว่างการแปรงฟัน และเกิดความระคายเคือง แต่ยังไม่ส่งผลกระทบให้ฟันมีการโยกคลอน กระดูกและเนื้อเยื่อที่ยึดติดกับฟันจะยังไม่ได้รับความเสียหายในขั้นแรกนี้ แต่หากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โรคเหงือกอักเสบ ก็จะพัฒนาไปเป็นการอักเสบเรื้อรัง หรือปริทันต์ ซึ่งในขั้นนี้ […]

แนะนำเรื่องการจัดฟันสำหรับคนใหม่

แนะนำเรื่องการจัดฟันสำหรับคนใหม่   มีใครกำลังคิดจัดฟันอยู่บ้างคะ? เชื่อว่าหลายคนเห็นเพื่อน ๆ หรือญาติพี่น้องจัดฟันแล้ว ก็อยากจะจัดบ้าง ถึงแม้ปัญหาฟันของน้อง ๆ อาจจะไม่รุนแรงเท่าไรนัก เช่น ฟันยื่น ฟันซ้อน ฟันเก เป็นต้น หลายคนเห็นคนใกล้ตัวไปจัดฟันแล้ว ก็สงสัยเหมือนกันว่าฟันของพวกเขาเป็นอะไรถึงต้องเข้ารับการจัดฟันกัน ครั้นมองตัวเองไปมาก็อยากจะจัดฟันบ้างหากน้อง ๆ มีความคิดที่อยากจะจัดฟันเช่นนี้ มันก็เป็นความคิดที่ดีนะคะ แต่ก่อนอื่นเพื่อให้ความคิดไม่เป็นการคิดไปเอง พี่ขอแนะนำให้น้อง ๆ พาตัวเองไปหาทันตแพทย์เลยค่ะ เพราะถ้าปรึกษาเพื่อน ๆ หรือญาติใกล้ชิดก็อาจจะได้รับคำตอบประมาณว่า ไปจัดฟันสิ เดี๋ยวสวยแน่นอนความจริงประโยชน์ของการจัดฟันมันมีมากกว่านั้น คุณหมอจะบอกได้เป็นเคส ๆ ไปว่าฟันของน้อง ๆ นั้น มันเข้าข่ายประเภทไหนมีความจำเป็นที่จะต้องจัดฟันหรือไม่เช่น ฟันที่มีปัญหากัดสบ หรือมีฟันซ้อน ฟันเก ฟันยื่น เป็นต้นซึ่งปัญหาเหล่านี้เองที่ทำให้น้อง ๆ แปรงฟันแล้วไม่ค่อยสะอาดทำให้เกิดปัญหาคราบหินปูนและฟันผุตามมา พอจัดฟันไปแล้วประสิทธิภาพของการแปรงฟันก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถ้าเหตุผลของการจัดฟันเป็นได้มากกว่าความสวยงามที่น้อง ๆ จะได้รับพี่เชื่อว่าน้อง ๆ จะสามารถบอกเหตุผลที่ผู้คนต้องถามน้อง ๆ ว่าทำไมถึงต้องไปจัดฟันได้สมเหตุสมผลมากกว่า แต่ผลพลอยได้ของการจัดฟัน แน่นอนว่าทุกคนย่อมรู้ดีว่าจะทำให้ยิ้มได้สวยและมั่นใจมากขึ้นบางคนโครงหน้าดูดีขึ้นเพราะผลของการจัดฟันหากเป็นสาวที่ต้องทำงานพบปะผู้คนมาก ๆการมาจัดฟันก็ถือว่ามีส่วนทำให้สาววัยทำงานมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม แต่อย่างไรก็ตาม น้อง […]

ย้อนกลับด้านบน