การตัดแต่งเหงือก (Gingivectomy และ Gingivoplasty )

การตัดแต่งเหงือก (Gingivectomy และ Gingivoplasty )

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%87%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81

การตัดแต่งเหงือก Gingivectomy และ Gingivoplasty นั้นมีความแตกต่างกัน

การตัดแต่งเหงือก Gingivectomy เป็นผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อและเหงือกออก ส่วน Gingivoplasty นั้นคือการผ่าตัด เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนรูปร่างของเหงือกที่อยู่รอบฟัน ซึ่งการผ่าตัดทั้งสองวิธีนั้น ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเหงือก ซึ่งก็คือทันตแพทย์ ผู้ชำนาญการในด้านการรักษาเหงือกและโครงสร้างที่อยู่รอบฟันโดยเฉพาะ

การตัดแต่งเหงือกแบบ Gingivectomy เป็นวิธีที่ใช้ในการรักษาโรคเหงือก แต่ในปัจจุบันนำมาใช้ตัดแต่งเพื่อความสวยงามกันมากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ต้องตัดแต่งนั้น มีด้วยกัน 2 สาเหตุหลักคือ

  • มีช่องระหว่างฟันและเหงือก ทำให้เศษอาหารเข้าไปติด ทำความสะอาดได้ยาก และกลายเป็นที่สะสมของเชื้อแบคทีเรีย
  • มีเนื้อเหงือกมากเกินไป ซึ่งนอกจากจะทำให้ดูไม่สวยงามแล้ว ยังทำความสะอาดยากด้วย นอกจากนั้น การที่มีเนื้อเหงือกมากไปนี้ ยังส่งผลให้การรับประทานอาหารไม่สะดวก และบางรายอาจจะพูดไม่ชัด

การตัดแต่งเหงือกแบบ Gingivoplasty เป็นวิธีการเปลี่ยนรูปร่างของเหงือก ซึ่งจะทำให้เหงือกดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น วิธีนี้ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหงือกไม่สมมาตร หรือไม่เท่ากัน การฟอร์มตัวของเหงือกไม่ดี โรคเหงือก ความผิดปกติจากพันธุกรรม มะเร็ง รวมทั้งเพื่อความสวยงามด้วย

การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการรักษาด้วยการตัดแต่งเหงือก ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการรักษา ทันตแพทย์ จะต้องตรวจเช็ค และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพปาก ไม่ว่าคนไข้จะดูแลความสะอาดได้ดีอยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม เพราะการตัดแต่งเหงือกนั้น เป็นการผ่าตัด ซึ่งคนไข้จะได้ต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และจะต้องเตรียมตัวมาอย่างเหมาะสม ก่อนทำการผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำความสะอาด ตรวจสอบรากฟัน ขจัดคราบหินปูน ก่อนจึงจะเริ่มกระบวนการได้

ในการตัดแต่งเหงือกนั้น จะต้องใช้ทั้งมีดผ่าตัด เครื่องตัดเหงือก Elctrosurgery เลเซอร์ และ Diamond dental burs หรืออาจจะมีเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อให้สำหรับการตัดแต่งเหงือกโดยเฉพาะ และก่อนการลงมือผ่าตัด ต้องมีการฉีดยาชา เพื่อระงับความรู้สึก ในการผ่าตัดนั้น บางกรณีก็อาจจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และบางกรณีก็ต้องใช้เวลานานเป็นชั่วโมง ซึ่งการที่จะต้องใช้เวลาผ่าตัดนานแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณและสภาพของเนื้อเยื่อบริเวณเหงือก

ปัจจุบันการตัดแต่งเหงือกนี้ เป็นทางเลือกเพื่อความงาม และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับคนไข้ เพราะการมีเหงือกเยอะ หรือเหงือกหนานั้น ทำให้ฟันดูสั้นไม่สวยงาม คนไข้ขาดความมั่นใจในการยิ้ม และการพูด ทำให้บุคคลิกภาพโดยรวมเสียไป การตัดแต่งเหงือกจึงช่วยทำให้ฟันดูยาวขึ้น สวยงาม เป็นธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งในการตัดนั้น คนไข้บางราย อาจจะใช้วิธีการตัดเหงือกเพียงอย่างเดียว บางรายเมื่อตัดแล้วต้องกรอกระดูกหุ้มฟันด้วย

  • การตัดแต่งเหงือกเพียงอย่างเดียว เป็นวิธีการที่ไม่ต้องใช้เวลามาก ไม่ต้องมีการเย็บแผบ หลังทำแล้ว ไม่มีเลือดซึม เหงือกไม่บวม สามารถรับประทานอาหารได้ทันที
  • การตัดแต่งเหงือกที่ต้องกรอกระดูกหุ้มฟัน จะต้องใช้เวลามากขึ้น และต้องมีการเย็บแผลร่วมด้วย

คนไข้ส่วนมาก รู้สึกวิตกกังวล หากจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการตัดแต่งเหงือก เพราะเป็นการผ่าตัด ซึ่งจริง ๆ แล้ว การตัดแต่งเหงือก ก็เป็นการทำให้เกิดแผล และอาจจะเกิดอาการอักเสบได้ เหมือนการผ่าตัดอื่น ๆ ทั้วไป แต่แผลผ่าตัดนั้น เป็นแผลขนาดเล็ก สามารถหายได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ การตัดแต่งเหงือก ยังเป็นการรักษาที่ให้ผลแบบถาวร เหงือกจะไม่มีการงอกซ้ำ กลับมาเป็นเหงือกเยอะ หรือเหงือกหนาอีก แต่ทั้งนี้ ผู้ผ่านการตัดแต่งเหงือก ก็ต้องดูแลรักษาสุขภาพปากและฟันอย่างเหมาะสม ดังนี้

  • หลังการผ่าตัด ให้รักษาความสะอาด รับประทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด อาหารรสจัด รวมไปถึงอาหารกรุบกรอบต่าง ๆ จนกว่าแผลจะหายดี ในระหว่างนี้ ทันตแพทย์ อาจจะสั่งยาแก้ปวดให้รับประทาน รวมทั้งมียาสำหรับบ้วนปากด้วย
  • ดูแลความสะอาดในช่องปาก ในระยะที่แผลยังไม่หายดี อาจไม่สามารถแปรงฟันในบริเวณที่ได้รับการผ่าตัดได้ แต่ในบรริเวณอื่น ก็สามารถแปรงและใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติ
  • เมื่อแผลหายดีแล้ว สามารถแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติ ซึ่งมักจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เหงือกจะเริ่มเข้าที่และดูเป็นธรรมชาติ แต่กว่าที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ จะหายเป็นปกตินั้น จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน
  • นอกจากการดูแลความสะอาดและสุขภาพปากด้วยตัวเองที่บ้านแล้ว ควรมาพบทันตแพทย์ เพื่อติดตามผลการรักษา และเมื่อหายเป็นปกติดีแล้ว ก็ควรเข้ารับการตรวจเช็ค และทำความสะอาดตามปกติอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ย้อนกลับด้านบน