Yearly Archives: 2016

ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนฟอกสีฟัน

ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนฟอกสีฟัน     หลายคนหันมาให้ความสนใจกับการฟอกสีฟัน เพราะผลลัพธืที่ได้กับระยะเวลาในการทำที่สั้นเพียงน้อยนิด ถือว่าสะดวกและได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก เมื่อเทียบกับการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อฟันขาวคงต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือนซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเห็นผลหรือไม่ แต่การฟอกสีฟันนั้นใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ฟันก็ขาวขึ้นทันที 1-2 เฉดสีจึงทำให้คนที่อยากมีฟันขาวสนใจเป็นอย่างมาก บางคนที่ต้องการฟอกสีฟันก็พยายามสอบถามข้อมูลจากคนใกล้ตัวบ้าง หาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตบ้าง ซึ่ง บางแหล่งข่าวก็เชื่อถือได้ บางแหล่งข่าวก็หลอกลวง หากใครอยากฟอกสีฟันขอแนะนำวิธีการเตรียมตัวดังต่อไปนี้   การเตรียมตัวก่อนฟอกสีฟัน 1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการฟอกสีฟัน หรือ ถ้าอยากได้ข้อมูลที่แน่นอนให้สอบถามคนใกล้ตัวที่เคยฟอกสีฟันมาแล้ว หรือไปพบทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำจากทันตแพทย์โดยตรงเลยค่ะ 2.เมื่อศึกษาข้อมูลแล้ว ให้ตัดสินใจเลือกว่าอยากทำการฟอกสีฟันด้วยวิธีไหน 3.ศึกษาการฟอกสีฟันแบบที่อยากทำ โดยอาจไปปรึกษากับทันตแพทย์ แล้วให้ทันตแพทย์ทำการประเมินสุขภาพช่องปากและฟันของเราก่อนว่าสามารถฟอกสีฟันได้ไหม 4.เมื่อตกลงกับทันตแพทย์ได้แล้วให้เตรียมค่าใช้จ่ายต่างๆให้พร้อม 5.ก่อนทำการฟอกสีฟันควรเคลียร์ปัญหาสุขภาพช่องปากให้ดี อย่าให้มีเหงือกอักเสบ ฟันผุ และคราบหินปูน 6.เตรียมตัวเตรียมใจ และศึกษาวิธีการดูแลตัวเองหลังจากการฟอกสีฟันให้ดีเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อฟอกสีฟันเสร็จจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี 7.ไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการฟอกสีฟันตามนัดหมายที่ตกลงกันไว้ 8.เมื่อฟอกสีฟันเสร็จแล้ว ให้ทำความเข้าใจและตั้งใจฟังตามข้อปฏิบัติหลังจากการฟอกสีฟัน เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ฟอกสีฟันเอง 9.หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มบางชนิด เช่นอาหารที่มีสี ชา กาแฟ น้ำหวานน้ำอัดลม เป็นต้น 10.มาพบทันตแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ตามกำหนด แต่ถ้าหากพบความผิดปกติให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัดหมาย นอกจากนี้อย่าลืมดูแลเอาใจใส่รักษาความสะอาดภายในสุขภาพช่องปากให้ดีนะคะ ถ้าเราดูแลรักษาฟันดี เราก็จะมีฟันขาวที่ยาวนาน ไม่ต้องเสียเงินฟอกสีฟันบ่อย […]

รีเทนเนอร์ สำคัญต่อการจัดฟันมากแค่ไหน

รีเทนเนอร์ สำคัญต่อการจัดฟันมากแค่ไหน               เมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว อุปกรณ์ต่อไปที่คนจัดฟันต้องรู้จักคือ รีเทนเนอร์ เพราะเป็นฟันก์ชั่นสุดท้ายของการจัดฟัน โดย รีเทนเนอร์ นั้นเป็นเครื่องมือที่จะช่วยยึดฟันของเราให้เรียงตัวตามที่แพทย์จัดไว้ เพราะหลังจากที่เราจัดฟันเสร็จ ฟันของเราจะถูกเคลื่อนที่ไปตามจุดที่เราต้องการ แต่ว่าเหงือกที่ยึดรากฟันจะยืดตัวออก หากเราไม่ใส่รีเทนเนอร์ควบคุมไว้ฟันก็จะกลับไปตำแหน่งเดิมเหมือนก่อนที่จะจัดฟัน ซึ่งเหงือกที่ยึดรากฟันจะใช้เวลาเซ็ตตัวประมาณ 1 ปี ดังนั้นช่วงที่ถอดเหล็กดัดฟันใหม่ๆ จึงเป็นช่วงที่เราควรมีระเบียบวินัยในการใส่รีเทนเนอร์ตลอดเวลา ถอดได้เฉพาะตอนทานข้าวและตอนแปรงฟันเท่านั้น แม้แต่ตอนนอนหลับก็ต้องใส่ด้วย โดยหลังจากใส่รีเทนเนอร์ครบ 1 ปีแล้ว ทันตแพทย์จะปรับลดการใส่รีเทนเนอร์ตามสภาพปัญหาฟันของแต่ละคน โดยจะดูจากอาการก่อนจัดฟันของเราเป็นหลัก การทำความสะอาด ควรทำความสะอาดรีเทนเนอร์ทุกวัน ด้วยการใช้แปรงขนนุ่นและยาสีฟันที่เราใช้ปกติ ขัดถูเบาๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรืออาจจะแช่เม็ดฟู่ทำความสะอาดรีเทนเนอร์ก็ได้ สิ่งสำคัญคือการดูแลรีเทนเนอร์ เพราะรีเทนเนอร์นั้น ควรจะอยู่เพียงแค่ 2 ที่เท่านั้น คือในปากของเรา และในกล่องสำหรับเก็บรีเทนเนอร์ ไม่ควรวางทิ้งหรือห่อกระดาษชำระวางเอาไว้ เพราะอาจจะเกิดการกระแทกจนทำให้รีเทนเนอร์ของเราเสียหาย และเสี่ยงกับการลืมเป็นอย่างมาก รวมทั้งสิ่งที่ห้ามเด็ดขาดคือการแช่รีเทนเนอร์ในน้ำยาบ้วนปาก และนำรีเทนเนอร์ไปลวกน้ำ หรือแช่แอลกอฮอลล์ สิ่งเหล่านี้แม้ในความคิดเราคืออยากจะทำให้รีเทนเนอร์สะอาดที่สุด แต่การทำแบบนั้นจะให้รีเทนเนอร์ผิดรูปร่างหรือหดตัวไปเลย จนไม่สามารถใส่ต่อไป ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือการทำความสะอาดด้วยแปรงธรรมดาก็เพียงพอแล้วค่ะ ส่วนอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ไม่ควรทำตอนใส่รีเทนเนอร์คือการดูด เอาลิ้นดุนหรือพลิกรีเทนเนอร์เล่นไปเล่นมาในปาก เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ฟันเคลื่อนกลับไปเหมือนก่อนที่จะจัดฟันได้ การจัดฟันจะประสบความสำเร็จได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของทันตแพทย์อย่างเดียวเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับการมีระเบียบวินัยของผู้จัดฟันเองด้วย […]

4 สัญญาณบอกเหตุปัญหาช่องปาก ที่ควรรีบไปคลินิก

4เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟันที่ควรรีบไปคลินิก               อวัยวะทุกส่วนในร่างกายมนุษย์มีส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แม้แต่ฟันซี่เล็กๆ ก็ล้วนแล้วมีทำหน้าที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ หัวใจ ปอด หรือสมองเลย เพราะหากส่วนหนึ่งส่วนใดในร่ายกายของเราผิดปกติไป ก็จะส่งสัญญาณออกมาในรูปแบบของความเจ็บปวด แต่บางครั้งความเจ็บปวดเล็กๆ น้อยๆ นั้นกับถูกเพิกเฉย โดยเฉพาะ ฟัน ของเรา หากเราไม่ใส่ใจอันตรายที่ฟันได้เตือนในระยะแรกๆ อาจทำให้ปัญหาที่เคยเล็ก ลุกลามบานปลายกลายเป็นปัญหาใหญ่ วันนี้เราจึงรวบรวม 5 อาการหลักๆ ที่เมื่อเกิดขึ้นกับฟันคุณแล้ว ต้องรีบไปพบทันตแพทย์ด่วน ปวดฟันตลอดเวลา หรือปวดแบบจี๊ดๆ การปวดฟันตลอดเวลา หมายถึง ในตลอดวันคุณปวดฟันตลอดเวลา หรือปวดเป็นระยะ ซึ่งหากอาการปวดเป็นเพียงแค่ 1-2 วัน ก็อาจจะไม่ต้องไปหาหมอ แต่หากเป็นนาวกว่า 1 สัปดาห์ อันนี้บอกเลยว่าต้องรีบไปพบแพทย์แล้วละค่ะ เพราะการปวดฟันตลอดอาจเกิดจากที่คุณนอนกัดฟัน ควรให้แพทย์แนะนำวิธีรักษาซะตั้งแต่เนินๆ แต่ถ้าหากอาการปวดของคุณเป็นแบบจี๊ดๆ บางซี่ หรือหลายๆ ซี่ ขณะเคี้ยวอาหาร นั้นเป็นสัญญาเตือนว่าฟันคุณกำลังผุ ซึ่งหากมีอาการปวดจี๊ดๆ เกิน 1 สัปดาห์ ควรต้องรีบไปพบแพทย์ แต่หากอาการดังกล่าวหายไปเอง ก็เป็นแค่นานๆ ครั้ง ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ […]

ฟันคุด (Impacted Tooth)

ฟันคุด (Impacted Tooth)     ฟันคุด คือฟันที่ขึ้นมาตามปกติไม่ได้ อาจจะไม่ขึ้นมาเลย หรืออาจฝังตัวในกระดูกขากรรไกร ในลักษณะเอียง หรือตะแคง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับฟันแท้ซี่ในสุด สาเหตุของฟันคุดนั้น มาจากการการที่ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะให้ฟันขึ้น ขากรรไกรอาจจะเล็ก หรือแคบเกินกว่าที่ฟันกรามซี่ที่งอกหลังสุดจะขึ้นมาได้ ฟันซี่สุดท้ายนี้จึงพยายามจะขึ้นมา แต่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เช่น บิด เอียง หรือไปชนกับฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียง และเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น มีปัญหากับการขบกัดเพราะแนวฟันไม่ปกติ เป็นที่สะสมของเศษอาหาร คราบหินปูน อันจะนำไปสู่การอักเสบของเหงือก การมีกลิ่นปาก และฟันผุ ทั้งซี่ที่เป็นฟันคุด และซี่ที่อยู่ถัดไปด้วย ดังนั้น แม้ว่าจะยังไม่เกิดปัญหา หรือผู้ที่มีฟันคุดจะยังไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่ทันตแพทย์ก็จะแนะนำให้ถอนฟันคุดนั้นออก จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด โดยทั่วไป ฟันกรามซี่สุดท้ายนี้ จะขึ้นมาในช่วงอายุ 17-21 ปี ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อที่อยู่ต่อจากฟันซี่สุดท้าย อาจจะมีอาการบวม แดง และกดเจ็บ มองเห็นช่องว่างแต่ไมมีฟันขึ้น และหากเป็นมาก ก็อาจะมีอาการอื่น ๆ ดังนี้ มีกลิ่นปาก […]

รักษารากฟัน

การรักษารากฟัน การรักษารากฟัน (Root canal treatment) คือ วิธีการที่จะรักษาฟันของเราเอาไว้ หลังจากที่ฟันซี่นั้น ได้รับความเสียหาย หรือฟันผุอย่างรุนแรง จนกระทั้งเกิดการติดเชื้อ ในการรักษารากฟันนั้น ทันตแพทย์จะตัดโพรงประสาทฟัน และเนื้อเยื่อที่อยู่ใจกลางฟันออก จากนั้นก็จะทำความสะอาด และปิดพื้นที่บริเวณนั้น ด้วยวัสดุทางทันตกรรม ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการรักษารากฟันนั้น เมื่อเกิดความเสียหายจนถึงโพรงประสาทฟัน จะต้องถอนฟันออกอย่างเดียวเท่านั้น แต่ปัจจุบัน ได้มีการศึกษาพบว่า เส้นประสาทของฟันนั้น ไม่ได้มีความจำเป็นในด้านการใช้งานและสุขภาพเท่าใด หลังจากที่ฟันได้งอกผ่านเหงือกขึ้นมาแล้ว เพราะหน้าที่ของมันก็คือ การรับความรู้สึกร้อนและเย็นเท่านั้น และการที่เส้นประสาทจะหายไปบ้าง ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบกับการใช้งานประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเส้นประสาท และเนื้อเยื่อในโพรงฟันอักเสบ ถูกทำลาย แบคทีเรียก็จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการติดเชื้อ หรือเป็นหนอง และอาจจะลุกลามทำให้เกิดอาการบวมทั้งบริเวณใบหน้า คอ และศีรษะได้ โดยปัญหานั้น จะเริ่มขึ้นที่รากฟัน จากนั้นก็จะกระจายออกไปยังเหงือก แก้ม และผิวหนัง แรก ๆ อาจจะแค่รู้สึกระคายเคือง ตามมาด้วยอาการอักเสบ และติดเชื้อ หากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจาก 3 กรณีคือ ฟันผุอย่างรุนแรงจนถึงโพรงประสาทฟัน […]

การถอนฟัน (Tooth Extraction)

การถอนฟัน (Tooth Extraction) การถอนฟัน เป็นการนำเอาฟันออกมาจากเบ้ากระดูกขากรรไกร ซึ่งสาเหตุที่จะต้องถอนนั้น มีหลายสาเหตุ คือ เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดความเสียหายขึ้นกับฟันมากเกินกว่าที่ทันตแพทย์จะซ่อมแซมแก้ไขได้ ฟันผุรุนแรง จนเกิดความเสียหายขึ้นกับโพรงประสาทฟัน เป็นโรคเหงือกอย่างรุนแรง มีปัญหาฟันคุด และเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการจัดฟัน นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีก เช่น การถอนฟันน้ำนมของเด็ก ที่ไม่ยอมหลุดออก เพื่อให้ฟันแท้ได้ขึ้นมา การถอนเนื่องจากมีอาการติดเชื้อ หรือถอนเพื่อเข้ารับการบำบัดรักษาโรคร้ายแรงบางอย่าง เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าจะต้องถอนฟัน ทันตแพทย์ จะซักประวัติการดูแลรักษาสุขภาพของคนไข้อย่างละเอียด ทั้งประวัติด้านการรักษาฟัน โรคประจำตัว และประวัติการใช้ยารักษาโรคต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังต้อง X-ray ฟัน เพื่อดูภาพรวม และหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด ในการถอนฟันดังนี้ ดูความเกี่ยวข้องของฟันซี่ที่จะถอนกับฟันซี่อื่น ๆ ดูฟันบน และความเกี่ยวข้องกับไซนัส หรือโพรงอากาศข้างจมูก ดูฟันล่าง เพื่อดูความเกี่ยวข้องของเส้นประสาทกับกระดูกขากรรไกร ที่ทำให้รับรู้ความรู้สึกบริเวณขากรรไกรล่าง ฟันล่าง ปากล่าง และคาง ตรวจดูโอกาสที่อาจจะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาเช่น การติดเชื้อ เนื้องอก […]

การอุดฟัน (Dental Fillings)

การอุดฟัน (Dental Fillings)   การอุดฟัน เป็นวิธีการรักษาฟันที่เสียหายเนื่องจากฟันผุ เพื่อให้ฟันซี่นั้น กลับมาใช้งานได้ตามปกติและมีรูปร่างที่เหมือนเดิม โดยทันตแพทย์ขจัดส่วนที่ฟันผุออกจนหมด ล้างทำความสะอาด และใช้วัสุดอุดฟันปิดช่องทางที่จะทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายฟัน และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ฟันกลับมาผุอีกในอนาคต สาเหตุที่ทำให้ฟันผุและการอุดฟันกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นนั้น ย้อนกลับไปตั้งแต่แรกเกิด ในตอนนั้น ไม่มีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอยู่ในช่องปาก แต่เมื่อเข้าสู่วัยเด็กหัดเดิน แบคทีเรียก็จะหาวิธีเข้าไปในปากของเรา ไม่ว่าจะเป็นการกัด หรือการเลียของเล่น รวมทั้งวิธีการอื่น ๆ และแบคทีเรียก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในปากของเราไปจนตลอดชีวิต แบคทีเรีย จะอยู่ที่ฟัน ทุกครั้งที่เรารับประทานอาหาร แบคทีเรียก็ได้รับอาหารด้วย ยิ่งถ้ารับประทานลูกอม ขนมหวาน แบคทีเรียก็ยิ่งชอบ และยิ่งแข็งแรงขึ้น และมันก็จะจับตัวกันแน่น เรียกว่า พลัก หากไม่กำจัดออก มันก็จะกัดกินเนื้อฟันของเรา จนกระทั่งเป็นรู ซึ่งเรียกว่า ฟันผุ แม้โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะสามรถซ่อมแซมตัวเองได้ อย่างเช่นเมื่อกระดูกหัก มันก็จะสามารถจะต่อกันติดเองได้ แต่สำหรับรูที่เกิดขึ้นบนฟันนั้น ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ จึงต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาด้วยการอุดฟัน คนไข้จะทราบได้อย่างไรว่าฟันผุ จนต้องอุดฟัน กรณีนี้ คนไข้อาจจะไม่มีความรู้สึกผิดปกติใด ๆ แต่การมาพบทันตแพทย์เป็นประจำตามกำหนดนั้นก็จะได้รับการตรวจเช็ค โดยใช้เครื่องมือซึ่งเป็นกระจกเล็ก ๆ […]

ย้อนกลับด้านบน