Monthly Archives: September 2016

ฟันคุด (Impacted Tooth)

ฟันคุด (Impacted Tooth)     ฟันคุด คือฟันที่ขึ้นมาตามปกติไม่ได้ อาจจะไม่ขึ้นมาเลย หรืออาจฝังตัวในกระดูกขากรรไกร ในลักษณะเอียง หรือตะแคง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับฟันแท้ซี่ในสุด สาเหตุของฟันคุดนั้น มาจากการการที่ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะให้ฟันขึ้น ขากรรไกรอาจจะเล็ก หรือแคบเกินกว่าที่ฟันกรามซี่ที่งอกหลังสุดจะขึ้นมาได้ ฟันซี่สุดท้ายนี้จึงพยายามจะขึ้นมา แต่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เช่น บิด เอียง หรือไปชนกับฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียง และเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น มีปัญหากับการขบกัดเพราะแนวฟันไม่ปกติ เป็นที่สะสมของเศษอาหาร คราบหินปูน อันจะนำไปสู่การอักเสบของเหงือก การมีกลิ่นปาก และฟันผุ ทั้งซี่ที่เป็นฟันคุด และซี่ที่อยู่ถัดไปด้วย ดังนั้น แม้ว่าจะยังไม่เกิดปัญหา หรือผู้ที่มีฟันคุดจะยังไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่ทันตแพทย์ก็จะแนะนำให้ถอนฟันคุดนั้นออก จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด โดยทั่วไป ฟันกรามซี่สุดท้ายนี้ จะขึ้นมาในช่วงอายุ 17-21 ปี ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อที่อยู่ต่อจากฟันซี่สุดท้าย อาจจะมีอาการบวม แดง และกดเจ็บ มองเห็นช่องว่างแต่ไมมีฟันขึ้น และหากเป็นมาก ก็อาจะมีอาการอื่น ๆ ดังนี้ มีกลิ่นปาก […]

รักษารากฟัน

การรักษารากฟัน การรักษารากฟัน (Root canal treatment) คือ วิธีการที่จะรักษาฟันของเราเอาไว้ หลังจากที่ฟันซี่นั้น ได้รับความเสียหาย หรือฟันผุอย่างรุนแรง จนกระทั้งเกิดการติดเชื้อ ในการรักษารากฟันนั้น ทันตแพทย์จะตัดโพรงประสาทฟัน และเนื้อเยื่อที่อยู่ใจกลางฟันออก จากนั้นก็จะทำความสะอาด และปิดพื้นที่บริเวณนั้น ด้วยวัสดุทางทันตกรรม ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการรักษารากฟันนั้น เมื่อเกิดความเสียหายจนถึงโพรงประสาทฟัน จะต้องถอนฟันออกอย่างเดียวเท่านั้น แต่ปัจจุบัน ได้มีการศึกษาพบว่า เส้นประสาทของฟันนั้น ไม่ได้มีความจำเป็นในด้านการใช้งานและสุขภาพเท่าใด หลังจากที่ฟันได้งอกผ่านเหงือกขึ้นมาแล้ว เพราะหน้าที่ของมันก็คือ การรับความรู้สึกร้อนและเย็นเท่านั้น และการที่เส้นประสาทจะหายไปบ้าง ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบกับการใช้งานประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเส้นประสาท และเนื้อเยื่อในโพรงฟันอักเสบ ถูกทำลาย แบคทีเรียก็จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการติดเชื้อ หรือเป็นหนอง และอาจจะลุกลามทำให้เกิดอาการบวมทั้งบริเวณใบหน้า คอ และศีรษะได้ โดยปัญหานั้น จะเริ่มขึ้นที่รากฟัน จากนั้นก็จะกระจายออกไปยังเหงือก แก้ม และผิวหนัง แรก ๆ อาจจะแค่รู้สึกระคายเคือง ตามมาด้วยอาการอักเสบ และติดเชื้อ หากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจาก 3 กรณีคือ ฟันผุอย่างรุนแรงจนถึงโพรงประสาทฟัน […]

การถอนฟัน (Tooth Extraction)

การถอนฟัน (Tooth Extraction) การถอนฟัน เป็นการนำเอาฟันออกมาจากเบ้ากระดูกขากรรไกร ซึ่งสาเหตุที่จะต้องถอนนั้น มีหลายสาเหตุ คือ เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดความเสียหายขึ้นกับฟันมากเกินกว่าที่ทันตแพทย์จะซ่อมแซมแก้ไขได้ ฟันผุรุนแรง จนเกิดความเสียหายขึ้นกับโพรงประสาทฟัน เป็นโรคเหงือกอย่างรุนแรง มีปัญหาฟันคุด และเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการจัดฟัน นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีก เช่น การถอนฟันน้ำนมของเด็ก ที่ไม่ยอมหลุดออก เพื่อให้ฟันแท้ได้ขึ้นมา การถอนเนื่องจากมีอาการติดเชื้อ หรือถอนเพื่อเข้ารับการบำบัดรักษาโรคร้ายแรงบางอย่าง เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าจะต้องถอนฟัน ทันตแพทย์ จะซักประวัติการดูแลรักษาสุขภาพของคนไข้อย่างละเอียด ทั้งประวัติด้านการรักษาฟัน โรคประจำตัว และประวัติการใช้ยารักษาโรคต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังต้อง X-ray ฟัน เพื่อดูภาพรวม และหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด ในการถอนฟันดังนี้ ดูความเกี่ยวข้องของฟันซี่ที่จะถอนกับฟันซี่อื่น ๆ ดูฟันบน และความเกี่ยวข้องกับไซนัส หรือโพรงอากาศข้างจมูก ดูฟันล่าง เพื่อดูความเกี่ยวข้องของเส้นประสาทกับกระดูกขากรรไกร ที่ทำให้รับรู้ความรู้สึกบริเวณขากรรไกรล่าง ฟันล่าง ปากล่าง และคาง ตรวจดูโอกาสที่อาจจะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาเช่น การติดเชื้อ เนื้องอก […]

การอุดฟัน (Dental Fillings)

การอุดฟัน (Dental Fillings)   การอุดฟัน เป็นวิธีการรักษาฟันที่เสียหายเนื่องจากฟันผุ เพื่อให้ฟันซี่นั้น กลับมาใช้งานได้ตามปกติและมีรูปร่างที่เหมือนเดิม โดยทันตแพทย์ขจัดส่วนที่ฟันผุออกจนหมด ล้างทำความสะอาด และใช้วัสุดอุดฟันปิดช่องทางที่จะทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายฟัน และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ฟันกลับมาผุอีกในอนาคต สาเหตุที่ทำให้ฟันผุและการอุดฟันกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นนั้น ย้อนกลับไปตั้งแต่แรกเกิด ในตอนนั้น ไม่มีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอยู่ในช่องปาก แต่เมื่อเข้าสู่วัยเด็กหัดเดิน แบคทีเรียก็จะหาวิธีเข้าไปในปากของเรา ไม่ว่าจะเป็นการกัด หรือการเลียของเล่น รวมทั้งวิธีการอื่น ๆ และแบคทีเรียก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในปากของเราไปจนตลอดชีวิต แบคทีเรีย จะอยู่ที่ฟัน ทุกครั้งที่เรารับประทานอาหาร แบคทีเรียก็ได้รับอาหารด้วย ยิ่งถ้ารับประทานลูกอม ขนมหวาน แบคทีเรียก็ยิ่งชอบ และยิ่งแข็งแรงขึ้น และมันก็จะจับตัวกันแน่น เรียกว่า พลัก หากไม่กำจัดออก มันก็จะกัดกินเนื้อฟันของเรา จนกระทั่งเป็นรู ซึ่งเรียกว่า ฟันผุ แม้โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะสามรถซ่อมแซมตัวเองได้ อย่างเช่นเมื่อกระดูกหัก มันก็จะสามารถจะต่อกันติดเองได้ แต่สำหรับรูที่เกิดขึ้นบนฟันนั้น ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ จึงต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาด้วยการอุดฟัน คนไข้จะทราบได้อย่างไรว่าฟันผุ จนต้องอุดฟัน กรณีนี้ คนไข้อาจจะไม่มีความรู้สึกผิดปกติใด ๆ แต่การมาพบทันตแพทย์เป็นประจำตามกำหนดนั้นก็จะได้รับการตรวจเช็ค โดยใช้เครื่องมือซึ่งเป็นกระจกเล็ก ๆ […]

ย้อนกลับด้านบน